Blog มาจากศัพท์คำว่า WeBlog บางคนอ่านคำๆ นี้ว่า We Blog บางคนอ่านว่า Web Log แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ทั้ง 2 คำ บ่งบอกถึงความหมายเดียวกัน ว่านั่นคือบล็อก (Blog) โดยคำว่า weblog นั้นมาจาก web (เวิลด์ไวด์เว็บ) และ log (ปูม, บันทึก) ซึ่งรวมกันหมายถึง “ปูมเว็บ” หรือ บันทึกบนเวิล์ดไวด์เว็บ นั่นเอง หรือ ถ้าจะขยายความมากไปกว่านั้น Blog ก็จะหมายถึง การบันทึกบทความของตนเอง (Personal Journal) ลงบนเว็บไซต์ มีการจัดเรียง “เรื่อง” หรือ post เรียงลำดับ โดยเรื่องใหม่จะอยู่ด้านบนสุด ส่วนเรื่องเก่าก็จะอยู่ด้านล่างสุด ซึ่งจะมีวันที่-เวลาเขียนกำกับไว้ เป็นที่นิยมกันในหมู่มาก
มีหลายครั้งที่เกิดความเข้าใจกันผิดว่า Blog เป็นแค่ไดอารี่ออนไลน์ แต่ความเป็นจริงแล้ว ไดอารี่ออนไลน์เปรียบเสมือน เนื้อหาประเภทหนึ่งของบล็อกเท่านั้น เพราะบล็อกมีเนื้อหาที่หลากหลาย และครอบคลุมได้ทุกเรื่อง ตั้งแต่การบันทึกเรื่องส่วนตัวอย่างไดอารี่ จนถึงการบันทึกบทความเฉพาะด้านต่างๆ เช่น เรื่องการเมือง เรื่องธุรกิจ เรื่องกล้องถ่ายรูป เรื่องกีฬา เป็นต้น โดยจุดเด่นที่ทำให้บล็อก เป็นที่นิยมก็คือ ผู้เขียนบล็อก จะมีการแสดงความคิดเห็นของตนเองใส่ลงไปในบทความนั้นๆ มีการสื่อสารกับผู้อ่านผ่านทางระบบ comment และมีการถ่ายทอดอย่างเป็นกันเอง โดยบล็อกบางแห่งจะมีอิทธิพลในการโน้มน้าวจิตใจผู้อ่านสูงมาก แต่ในขณะเดียวกัน บางบล็อกก็เขียนขึ้นมาเพื่อให้อ่านกันในกลุ่มเฉพาะเช่นเพื่อน หรือคนในครอบครัว Blog ให้ อิสระในการเขียนเรื่องอะไรก็ได้ตามแต่ใจผู้เขียน โดยจะสะท้อนบุคลิกของผู้เขียนออกมา ถ้าคนไหนเป็นคนตลก ก็จะเขียนออกมาได้สนุกสนาน น่าอ่าน, ใครชอบเลี้ยงสุนัขจะเล่าเรื่องสุนัขของตัวเอง เป็นต้น Blog มีทั้งบริการแบบเสียค่าใช้จ่าย และไม่เสียค่าใช้จ่าย ขึ้นอยู่กับรูปแบบของการให้บริการ ซึ่งมักจะติดตั้ง Tool ให้สามารถใช้งานได้อย่างง่ายๆ โดยไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์มากนัก
Blogger สามารถแปลได้ 2 ความหมายคือ
1. คนเขียนบล็อก หรือเจ้าของบล็อกนั่นเอง
2. ระบบ update blog หรือ blog engine ที่เรียกว่า Blogger.com นั่นเอง
ซึ่งสามารถประเภทจำแนกได้คร่าวๆ ดังนี้
1. บล็อกเกอร์อิสระ นักเขียนบล็อกประเภทนี้จะเขียนบล็อกของตัวเอง โดยจำกัดบล็อกของตัวเองไว้ว่าเป็นบล็อกส่วนตัว สำหรับเขียนเรื่องราวส่วนตัว หรือความคิดส่วนตัว โดยไม่ได้นำเสนอบล็อกของตัวเองเพื่อการอย่างอื่น นอกจากการชมเพื่อความบันเทิง, ความสนุกในหมู่เพื่อนฝูง
2. บล็อกเกอร์แนวธุรกิจ => รับทำบล๊อกเกอร์
นักเขียนบล็อกกลุ่มนี้ มักจะเขียนเนื้อหาของ blog ที่เป็นการแนะนำผลิตภัณฑ์หรือบริการของตน คือใช้ blog เป็นเครื่องมือในการทำการตลาดนั่นเอง
3. บล็อกเกอร์แบบองค์กร บล็อกเกอร์กลุ่มนี้ จะใช้ blog เพื่อเป็นการสื่อสารภายใน ไม่ว่าจะเป็นภายในองค์กร เช่นภายในบริษัท หรือใช้สื่อสารภายในทีมฟุตบอล หรือสโมสรต่างๆ
4. บล็อกเกอร์มืออาชีพ บล็อกเกอร์ที่เขียนบล็อกอย่างเดียว โดยมีรายได้จากบล็อกเพื่อยังชีพ บางคนได้รับค่าจ้างเป็นเงินเดือน ให้เขียนบล็อกอย่างเดียว บางคนเขียนบล็อกของตัวเอง โดยได้รับค่าโฆษณาต่างๆ จากผู้สนับสนุน กลุ่มนี้อาจเป็นบริษัทที่เขียนบล็อกโดยเฉพาะ ที่เห็นชัดเจนก็คือ blogger ชาวต่างประเทศ เพราะเขียนให้คนอ่านมากๆ แล้วใช้โฆษณาของ Google Adsense มาติดไว้ บางคนมีก็รายได้จากการเป็น presenter ให้สินค้าต่างๆ
มีหลายครั้งที่เกิดความเข้าใจกันผิดว่า Blog เป็นแค่ไดอารี่ออนไลน์ แต่ความเป็นจริงแล้ว ไดอารี่ออนไลน์เปรียบเสมือน เนื้อหาประเภทหนึ่งของบล็อกเท่านั้น เพราะบล็อกมีเนื้อหาที่หลากหลาย และครอบคลุมได้ทุกเรื่อง ตั้งแต่การบันทึกเรื่องส่วนตัวอย่างไดอารี่ จนถึงการบันทึกบทความเฉพาะด้านต่างๆ เช่น เรื่องการเมือง เรื่องธุรกิจ เรื่องกล้องถ่ายรูป เรื่องกีฬา เป็นต้น โดยจุดเด่นที่ทำให้บล็อก เป็นที่นิยมก็คือ ผู้เขียนบล็อก จะมีการแสดงความคิดเห็นของตนเองใส่ลงไปในบทความนั้นๆ มีการสื่อสารกับผู้อ่านผ่านทางระบบ comment และมีการถ่ายทอดอย่างเป็นกันเอง โดยบล็อกบางแห่งจะมีอิทธิพลในการโน้มน้าวจิตใจผู้อ่านสูงมาก แต่ในขณะเดียวกัน บางบล็อกก็เขียนขึ้นมาเพื่อให้อ่านกันในกลุ่มเฉพาะเช่นเพื่อน หรือคนในครอบครัว Blog ให้ อิสระในการเขียนเรื่องอะไรก็ได้ตามแต่ใจผู้เขียน โดยจะสะท้อนบุคลิกของผู้เขียนออกมา ถ้าคนไหนเป็นคนตลก ก็จะเขียนออกมาได้สนุกสนาน น่าอ่าน, ใครชอบเลี้ยงสุนัขจะเล่าเรื่องสุนัขของตัวเอง เป็นต้น Blog มีทั้งบริการแบบเสียค่าใช้จ่าย และไม่เสียค่าใช้จ่าย ขึ้นอยู่กับรูปแบบของการให้บริการ ซึ่งมักจะติดตั้ง Tool ให้สามารถใช้งานได้อย่างง่ายๆ โดยไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์มากนัก
Blogger สามารถแปลได้ 2 ความหมายคือ
1. คนเขียนบล็อก หรือเจ้าของบล็อกนั่นเอง
2. ระบบ update blog หรือ blog engine ที่เรียกว่า Blogger.com นั่นเอง
ซึ่งสามารถประเภทจำแนกได้คร่าวๆ ดังนี้
1. บล็อกเกอร์อิสระ นักเขียนบล็อกประเภทนี้จะเขียนบล็อกของตัวเอง โดยจำกัดบล็อกของตัวเองไว้ว่าเป็นบล็อกส่วนตัว สำหรับเขียนเรื่องราวส่วนตัว หรือความคิดส่วนตัว โดยไม่ได้นำเสนอบล็อกของตัวเองเพื่อการอย่างอื่น นอกจากการชมเพื่อความบันเทิง, ความสนุกในหมู่เพื่อนฝูง
2. บล็อกเกอร์แนวธุรกิจ => รับทำบล๊อกเกอร์
นักเขียนบล็อกกลุ่มนี้ มักจะเขียนเนื้อหาของ blog ที่เป็นการแนะนำผลิตภัณฑ์หรือบริการของตน คือใช้ blog เป็นเครื่องมือในการทำการตลาดนั่นเอง
3. บล็อกเกอร์แบบองค์กร บล็อกเกอร์กลุ่มนี้ จะใช้ blog เพื่อเป็นการสื่อสารภายใน ไม่ว่าจะเป็นภายในองค์กร เช่นภายในบริษัท หรือใช้สื่อสารภายในทีมฟุตบอล หรือสโมสรต่างๆ
4. บล็อกเกอร์มืออาชีพ บล็อกเกอร์ที่เขียนบล็อกอย่างเดียว โดยมีรายได้จากบล็อกเพื่อยังชีพ บางคนได้รับค่าจ้างเป็นเงินเดือน ให้เขียนบล็อกอย่างเดียว บางคนเขียนบล็อกของตัวเอง โดยได้รับค่าโฆษณาต่างๆ จากผู้สนับสนุน กลุ่มนี้อาจเป็นบริษัทที่เขียนบล็อกโดยเฉพาะ ที่เห็นชัดเจนก็คือ blogger ชาวต่างประเทศ เพราะเขียนให้คนอ่านมากๆ แล้วใช้โฆษณาของ Google Adsense มาติดไว้ บางคนมีก็รายได้จากการเป็น presenter ให้สินค้าต่างๆ